วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

linux fedora 16

Ubuntu 11.10 Review - Linux Distro Reviews

สุดยอดกับ Effect 3D By Linux

Linux How To: Install Software

อนาคตของ Linux ในประเทศไทย
แนวโน้ม Linux ในประเทศไทยในอนาคต แนวโน้ม Linux ในประเทศไทย ถ้าพิจารณาแล้วจะสามารถแบ่งได้ 2 กลุ่มคือกลุ่ม องค์กร และ กลุ่มผู้ใช้ทั่วไป ซึ่งมีแนวโน้มที่ต่างกัน เนื่องจากการจุดประสงค์การใช้งาน และ ปัจจัยอื่นๆ ต่างกันอย่างมาก จึงต้องแยกพิจารณาเป็นส่วนๆไปดังนี้ 
1.องค์กร ราชการ หน่วยงานต่างๆ 
กลุ่มนี้มี แนวโน้มการใช้ Linux สูงขึ้นเพื่อลดต้นทุน ขององค์กรเนื่องจาก Linux เป็น open source จึงมีต้นทุนต่ำมาก เมื่อเทียบกับการต้องชื้อ Windows มาใช้ เนื่องจาก องค์กรต้องเสียค่า license ระบบปฏิบัติการ เช่น Microsoft Windows XP และ โปรแกรม Office Suit เช่น Microsoft Office 2003 ปีล่ะหลายล้านบาท แต่ถ้าเปลี่ยนมาใช้ Linux ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก็จะลดลงมาก และใน องค์กร ส่วนใหญ่แล้วจะมี Server Computer ที่ใช้ในการบริการเครื่องลูกข่ายในองค์กร ซึ่ง ค่า license ระบบปฏิบัติการ ของเครื่องพวกนี้จะสูงมากและแพงขึ้นตามเครื่องลูกข่ายในองค์กร หน่วยงานส่วนใหญ่แล้วจึงเปลี่ยน ระบบปฏิบัติการที่ใช้กับ Server Computer มาเป็น Linux แทนการใช้ระบบ จากทาง Microsoft (Microsoft Windows 2003 Server) หรือระบบจากทาง Sun Microsystems (Solaris) และในปัจจุบันนี้ Linux สามารถทำงานกับภาษาไทยได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมี โปรแกรมออกมารองรับจำนวนมากเช่น star office ของ Sun Microsystems ที่ทำงานได้ดีพอๆกับ ms office เลยทีเดียว ที่สำคัญ เป็นของที่ทั้งฟรีและดีด้วย แต่ ข้อเสียของ Linux คือความยุ่งยากและความเข้ากันได้ ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับองค์กรที่ไม่ใหญ่มากเพราะต้องมีเจ้าหน้าที่ ที่มีความเชียวชาญ Linux และโปรแกรมสำเร็จรูปยังมีน้อยมาก
2.ผู้ใช้ทั่วไป หรือ End user, office ขนาดเล็ก ถึง ขนาดกลาง
กลุ่มนี้มีแนวโน้มที่คงที่จนถึงต่ำลง เนื่องจากจุดอ่อนของ Linux คือความยุ่งยากในการใช้งานและความเข้ากันได้ของระบบ ทำให้ผู้ใช้งานในระดับนี้ไม่เลือกที่จะใช้ Linux เพราะเวลาที่เสียไปไม่คุ้มกับความสะดวกและเงินที่เสียไป เนื่องจากผู้ใช้ตามบ้านต้องการใช้งานด้าน Multimedia และ Windows ทำในจุดนี้ได้ดีกว่า Linux อยู่มาก เช่นมาตรฐาน DirectX เป็นมาตรฐานเกม ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ฉะนั้นเกมเกือบทุกเกมจะพัฒนาตาม DirectX และ โปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆที่พัฒนาตามมาตรฐาน MFC (Microsoft Fundamental Class) ยกตัวอย่างเช่น Computer เอื้ออาทร ที่ ICT ขายพร้อมกับ Linux ทะเลที่หวังจะให้ผู้ใช้มือใหม่หัดใช้ Linux และดันให้เป็น ระบบ ปฏิบัติการแห่งชาติ แต่เนื่องจากความไม่เข้ากันของ Linux กับ software ต่างๆในปัจจุบันซึ่งส่วนใหญ่เป็นของ windows และความยุ่งยากในการใช้งาน ทำให้หลายคนยกเครื่องไปเปลี่ยนระบบปฏิบัติการเป็น windows และ ด้วยราคาของ Windows XP starter edition ขายในราคา ประมาณ 1000 บาท, Home Edition ราคาประมาณ 5000 บาท และ Professional Edition 8000 บาท ประกอบกับราคาของ Computer ที่ต่ำลงทำให้หลายคนยอมที่จะจ่ายเงินเพิ่มเพื่อความสะดวกในการใช้งาน และสามารถใช้ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ได้อย่างเต็มที่ ขอยกตัวอย่างง่ายๆ Linux ไม่สามารถ เล่นเกม หลายๆ เกมได้เพราะ ส่วนมากเกมจะพัฒนาบนมาตรฐาน Windows และอีกและโปรแกรมสำเร็จรูป ที่ทำมาเพื่อ Windows และด้วยความยุ่งยากของ Linux ที่ทำให้หลายๆท่านไม่คิดจะใช้ Linux (ถ้าไม่จำเป็น) 
ในส่วนของ สำนักงานขนาดเล็ก ถึง ขนาดกลาง จะไม่นิยมใช้ Linux เนื่องจาก ดูแลรักษาและใช้งานได้ลำบาก อีกทั้งจะเสียค่าใช้จ่ายในการจ้างเจ้าหน้าทีมาดูแลมากกว่า และ โปรแกรมสำเร็จรูป ต่างๆก็ไม่มีมาก 
Linux มีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัวของมันเอง ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่ามีความพร้อมและความเหมาะสมแค่ไหน ถ้าต้องการความสะดวกสบาย และความง่าย ความเข้ากันได้กับระบบ Linux ไม่น่าจะใช้คำตอบที่ดีนักแต่ถ้าต้องการ เสถียรภาพ และ ความคุ้มค่า ซึ่งต้องแลกมากับความยุ่งยาก Linux น่าจะเป็นคำตอบที่ดีกว่า ดังนั้น แนวโน้มจึงสวนทางกันอย่างเห็นได้ชัด
-ในการติดตั้ง ผู้ใช้จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการ Partition ของฮาร์ดดิสก์เป็นอย่างดี เพราะ Linux มีระบบไฟล์ที่แตกต่างออกไปจาก Windows และการติดตั้งโดยส่วนใหญ่จะต้องทำบนระบบไฟล์ของ Linux เองเท่านั้น การติดตั้ง Linux เป็นระบบปฏิบัติการเพียงระบบเดียวนั้นอาจจะไม่เจอปัญหาที่ยุ่งยากมากนัก แต่ส่วนใหญ่แล้วผู้ใช้มักจะต้องการที่จะเก็บ Windows ไว้ใช้งานด้วย ดังนั้นหากผู้ใช้ไม่มีความรู้ความชำนาญอย่างเพียงพอก็อาจจะทำให้ Windows ไม่สามารถใช้งานเป็นปกติได้ ปัญหาดังกล่าวนี้อาจป้องกันได้โดยการสำรอง (backup) แฟ้มข้อมูลต่าง ๆ บนฮาร์ดดิสก์ไว้ก่อน แล้วจึงทำการแบ่ง partition และติดตั้ง Linux ต่อไป
-ในการจะรันระบบ X-Windows นั้นผู้ใช้จะต้องรู้เกี่ยวกับ Hardware ภายในเครื่องเป็นอย่างดี เพราะในการติดตั้งอาจจะมีอุปกรณ์บางตัวที่ Linux จาก Distributor ที่เราเลือกใช้ยังไม่สนับสนุน หรือเรียกง่ายๆ ว่าไม่มี Driver นั่นเอง ทำให้ผู้ใช้จำเป็นจะต้องระบุรายละเอียดต่างๆ ด้วยตนเอง ซึ่งอาจเกิดความไม่สะดวก และบางครั้งอาจจะทำให้ X-Windows ไม่สามารถใช้งานได้
-แม้ว่าLinux จะมีระบบ X-Windows ที่ช่วยให้ผู้ใช้มีความสะดวกมากขึ้น แต่ก็ยังคงมีจุดที่แตกต่างจาก MS-Windowsที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่คุ้นเคย ทำให้ยังคงต้องเรียนรู้เพิ่มเติม ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาพอสมควร
การติดตั้งลีนุกซ์ในโหมด DOS
การสร้างแผ่น Boot เพื่อติดตั้งลีนุกซ์
  • ถ้าใช้ Windows95 อยู่ ให้ออกไปที่ Dos Mode  โดยคลิกที่ Start --- Shutdown --- เลือกที่ Restart the computer in MS-DOS Mode แล้วคลิกที่ OK
  • ไปที่ CD-ROM Drive ( D: หรือ E:)
  • พิมพ์ EZSTART แล้วกดปุ่ม Enter  เพื่อเรียก Bat File สำหรับสร้าง แผ่นBoot Linux
  • เครื่องจะถามว่า Are you sure you are not running under a shell (Y,N)   ให้กด Y
  • เครื่องจะถามว่า Enter the drive letter of your  CD-ROM drive [C...Z] ให้ใส่ชื่อ Drive ของ CD-ROM ( D หรือ E )
  • จากนั้นจะให้เลือกวิธีการที่จะติดตั้ง Linux ดังนี้
Select one of the following installation methodes:
A:  Zero floppy diskette instll. No floppy diskettes need. Make sure you not running in windows,but in DOS. This includes running as a DOS under windows.
B:  NON-PCMCIA installation  1  3.5" formatted floppy diskette required  Label Disk : BOOT
C:  PCMCIA installation  2  3.5" formatted diskettes required   Label disk 1: BOOT,   Label disk 2 : SUPPLEMENTAL
D:  Abort installation
Which installation method ? (A,B,C,D)?  ให้เลือก B
  • ใส่แผ่น Disk ที่ drive A แล้ว กดปุ่ม Enter   ก็จะได้แผ่นสำหรับ ติดตั้ง Linux ต่อไป
เริ่มต้นการติดตั้ง
  • ใส่แผ่น Boot Linux ที่ Drive A แล้ว บูทเครื่องใหม่
  • จะปรากฏข้อความต่อไปนี้
Welcome to REDHAT Linux
  • To install or upgrade a system running REDHAT Linux 2.0 or later press the <ENTER> key
  • To enable the expert mode, type: expert <ENTER>
  • To use this disk set for system repair or recovery, type: rescue <ENTER>
  • Use the function keys listed below for help with all topics
       Boot:
  • ให้กดปุ่ม Enter 
  • รอสักครู่ เพื่อ Load File ในการติดตั้ง จากนั้นจะมีการตรวจสอบ Hardware และจะมีกรอบ Color Choices ขึ้นมา
 
  • ซึ่งจะถามว่าใช้จอสีอยู่หรือไม่ ถ้าใช้ ให้เลือกที่ Yes โดยการกดปุ่ม TAB เลือก   แล้วกดปุ่ม Enter
  • จะมีกรอบข้อความต้อนรับเข้าสู่ REDHAT LINUX    ให้กดปุ่ม Enter
  • แล้วจะปรากฏกรอบ Configure Keyboard เพื่อเลือกชนิดของ Keyboard  การเลือกให้ใช้ ปุ่มลูกศร ขึ้น-ลง เลื่อนแถบสีน้ำเงิน ไปอยู่ในชนิด Keyboard ที่ต้องการ ในที่นี้ ให้เลือก US แล้วกดปุ่ม Enter
  • จะมีกรอบให้เลือกวิธีในการติดตั้ง ให้เลือกที่ Local CDROM  แล้วกดปุ่ม Enter
 
  • ใส่แผ่น CD ลงใน CDROM Drive แล้วกดปุ่ม Enter
เลือกประเภทการติดตั้ง
  •  จะมีกรอบให้เลือกว่าจะติดตั้งใหม่ หรือ Upgrade ของเดิมที่มีอยู่  ให้เลือกที่ INSTALL แล้วกดปุ่ม Enter
  • จะมีกรอบสอบถามว่ามีการติดตั้งอุปกรณ์ SCSI เช่น Harddisk SCSI หรือไม่  ถ้าไม่มีให้เลือกที่ NO แล้วกดปุ่ม Enter
การสร้าง Partiton
  • จะมีกรอบให้เลือกเครื่องมือในการสร้าง Partition
  • สำหรับมือใหม่ ให้เลือกที่ Disk Druid แล้วกดปุ่ม Enter
  • จากนั้นจะมีกรอบ Current disk partition ขึ้นมา
  • รายละเอียดต่างๆ จะขอละไว้ ถ้าสนใจจะหาข้อมูลเพิ่มเติม สามารถอ่านได้ที่ www.redhat.com
  • การเพิ่ม Partition ให้เลือกที่ ADD โดยกดปุ่ม TAB เพื่อเลื่อนตำแหน่ง จากนั้นกดปุ่ม Enter
  • จะมีกรอบ Edit New Partition ขึ้นมา
  • ขั้นแรกให้สร้าง Partition  Swap ก่อน
  • ที่ Mount Point: พิมพ์  /swap  แล้วกดปุ่ม TAB เพื่อเลือกหัวข้อต่อไป
  • Size (Megs): ให้เลือกขนาด 30 MB 
  • Growable?: ให้กด spacebar ให้เครื่องหมายดอกจันขึ้นมา
  • Type: ให้เลือก Linux Swap
  • จากนั้นกดปุ่ม TAB ไปที่ปุ่ม OK แล้วกดปุ่ม Enter
  • ต่อไปให้สร้าง Partition Root
  • Mount Point: พิมพ์เครื่องหมาย    /    แล้วกดปุ่ม TAB เพื่อเลือกหัวข้อต่อไป
  • Size (Megs): ให้เลือกขนาด 389 MB  หรือ ส่วนที่เหลือ ทั้งหมด หลังจากสร้าง Partition Swap แล้ว
  • Growable?: ให้กด spacebar ให้เครื่องหมายดอกจันขึ้นมา
  • Type: ให้เลือก Linux Native
  • จากนั้นกดปุ่ม TAB ไปที่ปุ่ม OK แล้วกดปุ่ม Enter
  • กรณีที่สร้าง Partition แล้ว มีเนี้อที่ใน Harddisk ไม่เพียงพอจะมีข้อความแจ้งเตือน ดังนี้
  • ถ้าเกิดกรณีนี้ขึ้น ให้กดปุ่ม Enter ผ่านไปก่อน
  • จากนั้นให้เลือกที่ ปุ่ม RESET เพื่อยกเลิกการสร้าง Partition ทั้งหมด
  • แล้วจึงดำเนินการสร้าง Partition ใหม่ โดยต้องคำนวน ให้มีพื้นที่เพียงพอ

  • เมื่อได้ Partition ตามต้องการแล้ว ให้เลือกที่ OK แล้วกดปุ่ม Enter
  • จะมีกรอบ Save changes ขึ้นมา ให้เลือกที่ YES แล้วกดปุ่ม Enter
  • จากนั้นจะมีกรอบ Active Swap Space ขึ้น
  • ให้กดปุ่ม TAB ไปที่ OK แล้วกดปุ่ม Enter   เพื่อทำการ Format  Partition Swap
  • จากนั้นจะมีกรอบ Format Partitions อื่นๆ
  • ให้กด Spacebar ให้มีเครื่องหมาย ดอกจันขึ้น เพื่อเลือก Format Partition ที่ต้องการ ในที่นี้ให้เลือกทั้งหมด
  • กดปุ่ม TAB ไปที่ OK แล้วกดปุ่ม Enter
เลือก Packages การติดตั้ง
  • จะมีกรอบ Components to install ขึ้น
  • การเลือก Package โดยการกด Spaecbar ที Package ที่ต้องการ แล้วจะมีเครื่องหมายดอกจันขึ้น
  • Packages ที่ควรจะเลือกในเบี้องต้นนี้มีดังนี้
  • Printer Support
  • X window system
  • Mail / WWW / New Tools
  • File managers
  • X Multimedia Support
  • Console Multimedia
  • Networked Workstation
  • Dialup Workstation
  • ที่ Select individual packages ไม่ต้องเลือก
  • เลือกที่ OK แล้ว กดปุ่ม Enter
  • จะมีกรอบ Install Log ขึ้นมา ให้เลือกที่ OK แล้วกดปุ่ม Enter
  • จากนั้นจะทำการติดตั้ง Packages ที่ได้เลือกไว้ ใช้เวลาประมาณ 10 นาที
การเลือกอุปกรณ์ Mouse และ Video Card
  • หลังจากติดตั้ง Packages เรียบร้อยแล้ว จะขึ้นกรอบ Probing Result เนื่องจากตรวจพบ Mouse ชนิด PS/2 ที่ port PSAUX กรณีที่เป็น Serial mouse จะขึ้นเป็นข้อความอื่น
  • ให้กดปุ่ม Enter เพื่อทำงานต่อไป
  • จะมีกรอบ Emulate Three buttons ขึ้นมา  ให้เลือกที่ YES แล้วกดปุ่ม Enter
  • จะมีกรอบ PCI Probe ขึ้นมา และจะมีรายละเอียดของ การ์ดแสดงผล  ให้กดปุ่ม Enter
  • จะมีกรอบ Monitor Setup ให้เลือกรายการที่ตรงกับ monitor ที่ท่านมีมากที่สุด   ถ้าไม่มีรายการที่ใกล้เคียง แนะนำให้เลือก MAG DX1495
  • จากนั้นเลือกที่ OK แล้ว กดปุ่ม Enter
  • จะปรากฎกรอบ Screen Configuration เพื่อกำหนดค่าให้กับระบบ X window ให้เลือกที่ Don't Probe แล้วกดปุ่ม Enter
  • จะมีกรอบ Video Memory ขึ้นมา ให้เลือกจำนวน หน่วยความจำของการ์ดแสดงผล ที่มีอยู่ แล้วกดปุ่ม Enter
  • จะมีกรอบ Clock chip configuration ขึ้นมา ให้เลือกที่ No clockchip setting แล้วกดปุ่ม Enter
  • จะมีกรอบ Select video mode ให้กดปุ่ม TAB ไปเลือกที่  16 Bit  800x600  แล้วเลือกที่ OK และกดปุ่ม Enter
  • จะมีกรอบ Network configuration ขึ้นมา ให้เลือก NO แล้วกดปุ่ม enter
  • จะมีกรอบ Configure Times zones ให้เลือกที่ Aaia/Bangkok   เลือก OK และกดปุ่ม Enter
  • จะมีกรอบ Services ขึ้นมา ให้เลือกที่ OK แล้วกดปุ่ม Enter
การเลือกอุปกรณ์ Printer
  • จะมีกรอบ Configure Printer  ถ้าไม่มีเครื่องพิมพ์ ให้เลือก NO ถ้ามีให้เลือก YES
  • จะมีกรอบ Select printer Connection ขึ้นมา
  • ให้เลือกที่ local แล้วกดปุ่ม TAB ไปที่ Next และกดปุ่ม Enter
  • จะมีกรอบ Standart Printer option ขึ้นมา
  • ไม่ต้องแก้ไขค่าอะไร ให้กดปุ่ม TAB เพื่อเลือก Next แล้วกดปุ่ม Enter
  • จะมีกรอบ local Printer Device ขึ้นมา
  • ไม่ต้องแก้ไขค่าอะไร ให้กดปุ่ม TAB เพื่อเลือก Next แล้วกดปุ่ม Enter
  • จะมีกรอบ Configure Printer  ขึ้นมา
  • ให้เลือกชนิดของเครื่องพิมพ์ ให้ใกล้เคียงกับที่ท่านมีมากที่สุด แล้วกดปุ่ม TAB ไปที่ Next แล้วกดปุ่ม Enter
  • จะมีกรอบให้เลือกชนิดของกระดาษขึ้นมา
  • ให้เลือก Paper Size เป็นชนิด A4 แล้วกดปุ่ม TAB เพื่อเลือก Resolution ถ้าเป็นเครื่องพิมพ์ชนิด Inkjet ให้เลือก 300x300 แล้วกดปุ่ม Tab เลือกที่ Next   และกดปุ่ม Enter
  • จะมีกรอบ Verify printer configuration ขึ้นมา ให้เลือกที่ Done แล้วกดปุ่ม Enter
การกำหนด Password
  • จะมีกรอบ Root Password ขึ้นมา ให้ใส่ password ตามต้องการ โดยใส่ให้เหมือนกัน 2 ครั้ง แล้วเลือกที่ OK และ Enter
ติดตั้ง LILO
     LILO (Linux Loader) เป็นซอร์ฟแวร์ที่ทำหน้าที่ในการโหลด เคอร์เนลของลีนุกซ์เมื่อเริ่มการบูต โดยสามารถที่จะโหลดเคอร์เนลได้จากหลายส่วนด้วยกัน เช่น ฟล็อปปี้ดิสก์ , ฮาร์ดดิสก์ หรือแม้แต่การโหลดระบบปฏิบัติการอื่นขึ้นมา (สามารถทำ Multi Boot ได้)
  • จะมีกรอบ LILO Installation ขึ้นมา
  • ให้เลือกที่ Master Boot Record แล้วกดปุ่ม TAb ไปที่ OK แล้วกดปุ่ม Enter
  • จะมีกรอบ LILO Instalation อีกครั้ง ให้กดปุ่ม TAB ไปที่ Ok แล้วกดปุ่ม Enter
  • จะมีกรอบ Bootable partition ขึ้นมา ให้เลือก Default Boot ที่ DOS โดยการกดปุม F2 (สังเกตุ ดอกจัน)  กดปุ่ม TAB ไปที่ OK แล้วกดปุ่ม Enter
  • จะมีกรอบ Done แจ้งว่า การติดตั้งสมบูรณ์แล้ว   ให้เอาแผ่น Boot Linux ออก แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อบูทระบบใหม่
เข้าระบบ Linux
  • เมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาใหม่ เมื่อผ่านการตรวจสอบ Bios แล้ว จะมี  Prompt  LILO boot: ขึ้นมา ให้พิมพ์ linux แล้วกดปุ่ม Enter ถ้าไม่พิมพ์อะไรภายใน 30 วินาที  LILO จะบูท Dos (windows95) ให้เอง
  • จากนั้น Linux จะเริ่ม Start ระบบ  จนถึงข้อความ
RED HAT LINUX Release 5.0 (Hurricane)
Kernel  2.0.32 on an i586
local host login:
  • ให้พิมพ์ root
  • แล้วจะถาม password : ให้ใส่ password ที่ได้กำหนดไว้ลงไป
  • จากนั้นจะขึ้น [root@localhost /root]#
  • ลองใช้คำสั่ง ls
  • ลองใช้คำสั่ง cd /usr
  • ใช้คำสั่ง ls
  • ใช้คำสั่ง ls -l
  • ลองกดปุ่ม Alt +ปุ่ม F2  จะมีหน้าจอใหม่ขึ้นมา หาต้องการกลับไปหน้าจอเดิม ให้กดปุ่ม Alt + ปุ่ม F1
  • ใช้คำสั่ง startx  ถ้าไม่มีปัญหาอะไร ระบบ x window จะทำงาน ลองขยับ mouse ว่าทำงานได้ดีหรือไม่ หากต้องการออกจาก x window ให้กดปุ่ม Ctrl + Alt + Backspace
  • การออกจาก Linux    ให้ใช้คำสั่ง  shutdown -r now  (ออกแล้วบูทเครื่องใหม่)  shutdown -h now (ออกแล้วปิดเครื่อง)
ข้อควรระวังในการติดตั้ง Linux
เมื่อขั้นตอนการติดตั้งมาถึง จุดนี้
      ถ้าเลือกการติดตั้ง ที่ Workstation หรือ Server   จะเป็นการติดตั้งแบบอัตโนมัติ จะลบ partition เดิมที่มีอยู่ (รวมทั้ง windows 95) ทำให้ ข้อมูลเดิม ที่มีอยู่สูญหายทั้งหมด   และจะทำการแบ่ง partition ใหม่และ format ให้เอง เสร็จสรรพ   ถ้าเลือก 2 วิธีนี้ ขอแนะนำว่า ให้ติดตั้ง redhat ลงบน harddisk ตัวใหม่ เดี่ยวๆ ไม่มี OS อื่นมาเกี่ยว ข้องจะดีที่สุด
     ถ้าเป็นการติดตั้ง redhat ร่วมใช้งาน กับ OS อื่น บน harddisk ตัวเดียวกัน  ให้เลือกที่ Custom แล้วดำเนินการ ติดตั้งต่อไป โดยการกำหนดค่าต่างๆ เอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น